เมื่อกล่าวถึง พิธีกรรมทางศาสนา แล้ว สำหรับชาวไทยพุทธคงต้องคุ้นเคยและปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งการปฏิบัติทางพุทธศาสนานั้นส่วนมากเป็นจะทำบุญกุศลพี่มีอยู่แตกต่างกันออกไป โดยแต่ละวิธีนั้นล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเพณี และวัฒนธรรมประจำชาติ พระมหากษัตริย์ ซึ่งสาเหตุของการประกอบพิธี มีด้วยกัน 3 ประการคือ การทำบุญในวันสำคัญองค์พระมหากษัตริย์, การทำบุญประจำประเพณีในเทศกาลต่าง ๆ รวมถึงการทำบุญที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล
พิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธี นั้นสำคัญอย่างมากเกี่ยวข้องกับชีวิต
ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย โดยจะมี พิธีกรรม เกี่ยวข้องมากมายตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามวันสำคัญต่างๆ ซึ่งก็ยึดถือสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน
กำเนิดของ พิธีกรรมทางศาสนา นั้น เกิดขึ้นเพื่อให้ชาวพุทธศาสนาได้เข้าถึงพระรัตนตรัย โดยเรียกว่า ศาสนพิธี ซึ่งมีความสำคัญ โดยถือเป็นแบบอย่างในการทำความดีในพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนหมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว
พิธีกรรม ที่สําคัญของพุทธศาสนา ประกอบด้วยพิธีที่เกี่ยวข้องกับวินัยสงฆ์ เช่น พิธีบรรพชา พิธีเข้าพรรษา พิธีทอดกฐิน พิธีปวารณาเป็นต้น พิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเช่นงานมงคล ได้แก่ งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานโกนจุก งานอวมงคล ได้แก่ งานศพ งานทำบุญกระดูก เป็นต้น และ พิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่น พิธีวันมาฆบูชา พิธีวันวิสาขบูชา พิธีวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
หลักปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับ พิธีกรรมทางศาสนา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตัวบุคคล จึงควรคำนึงถึง 4 ประการหลักดังนี้คือ ความถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ความเหมาะสมตามสถานการณ์ ความประหยัด และประโยชน์ที่จะได้รับนั้นต้องคุ้มค่า เป็นต้น
ประโยชน์ของ พิธีกรรมทางศาสนา นั้นมีประโยชน์แก่ตัวบุคคลอย่างมาก อันดับแรกเลยการประกอบพิธีกรรม จะช่วยดึงบุคคลเข้าสู่หลักธรรมพุทธศาสนา ให้มีจิตใจที่เมตตา ยึดถือหลักความดีเป็นที่ตั้ง การประกอบพิธีจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยขัดเกลาให้คนในสังคมมีความรักความสามัคคีและปรารถนาดีต่อกัน ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักธรรมพระพุทธศาสนาจะเป็นผู้ที่อยู่ในศีลในธรรม บำเพ็ญบุญสร้างกุศลได้มากมาย รวมถึงช่วยจะลงให้พุทธศาสนามีความเจริญยั่งยืนสืบไป
จะเห็นได้ว่า พิธีกรรม ต่าง ๆ นั้น ถูกสืบทอดต่อกันมานั้นมีประโยชน์ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม ผู้ที่ปฏิบัติจะมีความสุข มีกุศล สามารถช่วยให้เกิดความสามัคคีในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังช่วยปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาได้มากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเจริญทางจิตใจ ช่วยให้นำเนินชีวิตอยู่บนหลักธรรม มีจิตใจที่ผ่องใส มีความสุขทางใจ ละเว้นความชั่ว ก่อให้เกิดความสงบสุขในครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม: คาถาอาคม ต่าง ๆ ความเชื่อสมัยโบราณ ที่นับถือสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน