ประเพณีไทยนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน สร้างความเป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้แต่ละภูมิภาคของประเทศไทยจะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรมรวมไปถึงความเชื่อ ทำให้เกิดความหลากหลาย และเพิ่มสีสันให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก
วันนี้เราจึงมี ประเพณีล้านนา ที่น่าสนใจอย่าง การ เลี้ยงผีปู่ย่า มาฝากกัน จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีความสำคัญอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย
- การ เลี้ยงผี ปู่ย่า นั้นเป็น ประเพณีล้านนา ของทางภาคเหนือที่ ผ่านการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นประเพณีแบบโบราณหรือที่รู้จักกันดีในชื่อของการเลี้ยงผีประจำตระกูลหรือผีบรรพบุรุษนั่นเอง เพราะชาวล้านนามีความเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วลูกหลานจะทำการสร้างหอไว้ทางทิศตะวันออก โดยภายในหอนั้นจะมีหิ้งวางเครื่องบูชาไว้เซ่นไหว้ เช่น พานดอกไม้ ธูปเทียน คนโท เพื่อเป็นการบวงสรวงดวงวิญญาณของผีปู่ย่าให้มาสถิตอยู่ในศาลนั่นเอง
- การ เลี้ยงผี ปู่ย่า ของชาวล้านนานั้นมีจุดประสงค์เพื่อ อัญเชิญดวงวิญญาณของผีบรรพบุรุษให้มาสถิตอยู่ในศาล เพื่อคอยปกปักรักษาและคุ้มครองภยันตรายต่างๆให้กับลูกหลานให้แคล้วคลาดปลอดภัย หรืออยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขนั่นเอง
- ซึ่งพิธีนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมเลี้ยงกันใน เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่เนื่องด้วยเหตุจำเป็นหลายอย่าง จึงทำให้ในปัจจุบันปรับเปลี่ยนมาเป็นการประกอบพิธีในช่วงปีใหม่หรือสงกรานต์ ที่ลูกหลานต่างเดินทางมาพร้อมเพียงกัน เพื่อให้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันนั่นเอง
- หรือในปัจจุบันการ เลี้ยงผี ปู่ย่า ถ้าหากเดินทางมาร่วมพิธียาก ก็อาจจะมีการขอแบ่งผีไปอยู่ในชุมชนใหม่ที่สะดวกแก่การเดินทางมากยิ่งขึ้น โดยการนำขันมาขอแบ่งผีจากต้นตระกูล โดยจะมีผีเก๊าเป็นผู้นำข้าวตอกดอกไม้มาใส่ไว้ในขัน จากนั้นทำการอวยพรและแบ่งผีให้กับสมาชิกคนอื่นๆได้นำไปประกอบพิธีสืบต่อไป
- หลังจากที่ได้รับผีมาแล้ว ก็จะมาตั้งขันธ์ไว้ในหอผีหรือสถานที่จัดสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคล และเชื่อกันว่าผีปู่ย่านี้จะช่วยคุ้มครองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน รวมไปถึง ช่วยให้ครอบครัวนั้นขยายใหญ่ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดอีกด้วย
ซึ่งการ เลี้ยงผี ปู่ย่า นั้นในแต่ละปีจะต้องทำการตกลงกันว่าจะถวายไก่หรือหมู ถ้าหากในปีนี้จะถวายด้วยไก่ให้นำมาครอบครัวละ 1 ตัว แต่ถ้าหากจะถวายด้วยหมูจะใช้ส่วนหัวของหนูมาใช้ในการประกอบพิธี โดยในการประกอบพิธีนั้นจะใช้ผู้สูงอายุกล่าวคำบูชาพร้อมกับญาติๆมาร่วมพิธี เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง ประเพณีล้านนา ที่หาชมได้ยาก ประเพณีนี้ทำให้ลูกหลานที่อยู่ห่างไกลกันมีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์ หรือได้พูดคุยสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น สร้างความสามัคคี ความแน่นแฟ้น ลดระยะห่างภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม: ไลลา เครื่องราง